คงไม่มีใครไม่รู้จัก”New York city” เมืองที่มีบทบาทมากที่สุด ในประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก

เชื่อว่าหลายคนคงจะมีภาพจำเกี่ยวกับนิวยอร์ค ที่เคยเห็นมาจากภาพยนตร์หรือสื่อต่างๆ พอพูดถึงนิวยอร์ค สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นตึกระฟ้า เทพีเสรีภาพ หรือวอลสตรีท แต่ถ้าใครเคยมานิวยอร์ค แล้วได้ลองสำรวจเมืองนี้กันแบบลึกๆ ก็อาจจะเห็นองค์ประกอบที่น่าสนใจซ่อนอยู่มากมาย
คยดูหนังหรือเล่นเกมส์แล้วเจอ easter egg ไหมครับ? easter egg ที่ถูกซ่อนไว้ในฉากต่างๆ เพื่อสื่อความหมายบางอย่าง และมันอาจจะไม่ได้บอกมาตรงๆ แต่ต้องอาศัยการสังเกตและการตีความสักหน่อย สำหรับเรา เมืองๆหนึ่งเองก็มี easter egg ที่ซ่อนอยู่เหมือนกัน โพสต์นี้จะพาไปค้นพบ New york easter egg กันครับ
เราไม่ได้จะมารีวิวสถานที่เที่ยว หรือบอกทริคในการมาเที่ยวนิวยอร์คแต่อย่างใด โพสต์นี้จะเป็นเหมือนการพาไปเดินเล่นตามถนนในนิวยอร์คสักหนึ่งวัน แล้วสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวเพื่อทำความเข้าใจความนิวยอร์คกัน
สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปนิวยอร์ค โพสต์นี้น่าจะทำให้คุณได้รู้จักนิวยอร์คเพิ่มขึ้นไปอีกนิด ส่วนใครที่เคยไปเยือนนิวยอร์คมาแล้ว มาลองแชร์ความคิดเห็นกันในคอมเมนต์นะครับ ว่าเคยเจอ easter egg ข้อไหนมาบ้างและคิดอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว ไปตะลุยนิวยอร์คกันเลย!

Smoke (ควัน)

Smoke (ควัน) : ถ้าเราลองเดินเล่นไปตามถนนในมหานครนิวยอร์ค เป็นไปได้มากเลยที่จะได้เห็น “ควัน” ที่ลอยขึ้นมาจากฝาท่อระบายน้ำบนนถนน แต่ไม่ต้องตกใจไปครับ มันไม่ได้เกิดจากการไฟไหม้แต่อย่างใด แต่ควันเหล่านี้เกิดจาก NYC Stream System ซึ่งเป็นระบบไอน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แฝงตัวอยู่ใต้ดินและหล่อเลี้ยงมากกว่า 2,000 อาคารในแมนฮัตตัน
เมืองนี้ใช้พลังงานจากไอน้ำควบคู่ไปกับพลังงานไฟฟ้ามาโดยตลอด Stream System นี้ถือเป็น Infrastructure ของเมืองที่แปลกแต่เจ๋งดี และมันก็พ่นควัรออกมาจนกลายเป็น Element เท่ๆ ให้กับเมือง New York ด้วย

Reader (นักอ่าน)

Reader (นักอ่าน) : วัฒนธรรมการอ่านหนังสือแทรกซึมอยู่ในทุกอณูของเมืองนิวยอร์ค เราจะเห็น Newyorker ถือหนังสืออ่านได้ตามสวนสาธารณะ รถไฟฟ้า หรือ public space อื่นๆได้ทั่วไป นอกจากนี้นิวยอร์คยังมีร้านหนังสือมากถึงเกือบ800ร้าน และศูนย์กลางการอ่านอย่าง New York public library ก็เป็นห้องสมุดที่ใหญ่เป็นอันดับ4ของโลกด้วย แสดงแสนยานุภาพด้านการอ่านที่ไม่แพ้เมืองใดในโลก

Construction (การก่อสร้าง)

Construction (การก่อสร้าง) : เป็นเรื่องแปลกที่เมืองที่ดูเหมือนจะมีสิ่งปลูกสร้างในทุกตารางเมตรอย่างนิวยอร์คนั้น กลับมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเยอะมาก ถ้าลองเดินเล่นไปตามถนน รับรองเลยว่าคุณจะได้เห็นไซต์งานก่อสร้างอยู่เกือบจะทุกบล็อค เนื่องจากนิวยอร์คมี demand ในการใช้พื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ และมีกฏหมายด้านการ maintenance อาคารที่ค่อนข้างเข้มงวด ทำให้ต้องมีการก่อสร้างและซ่อมแซมเยอะ ราวกับว่าเมืองนี้ไม่เคยหยุดนิ่งและมีการเปลี่ยนผ่านทางสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา

Yellow Cabby (แท็กซี่สีเหลือง)

Yellow Cabby (แท็กซี่สีเหลือง) : นอกจากเทพีเสรีภาพและตึกเอมไพร์สเตทแล้ว หนึ่งใน icon ของนิวยอร์คที่มีเอกลักษณ์และมักจะปรากฎในภาพยนตร์หลายๆเรื่องจนอาจเป็นภาพจำของหลายๆคน ก็คือรถแท็กซี่สีเหลืองที่วิ่งอยู่ทั่วเมืองนี่เอง ในเมืองนี้รถแท็กซี่ทุกคันจะต้องเป็นสีเหลือง เพราะมีการวิจัยมาแล้วว่าสีเหลืองเป็นสีที่มองเห็นได้ชัดจากระยะไกล
สำหรับชาวนิวยอร์ค การนั่งแท็กซี่ก็ถือเป็นวิธีการเดินทางที่ราคาค่อนข้างแพง ว่ากันว่าคนขับแท็กซี่นิวยอร์คมีรายได้ประมาณ 250,000บาทต่อเดือนเลยทีเดียว แต่ถ้ามองด้วยสายตาของนักท่องเที่ยวที่แค่มาเดินเล่นชมเมืองแล้ว แท็กซี่สีเหลืองนี้เหมือนเป็นอีกหนึ่ง landmark ที่เคลื่อนที่ได้ของนิวยอร์ค และเป็นองค์ประกอบสวยๆที่ตัดกับสีของเมืองคอนกรีตนี้ได้อย่างลงตัว

Street Show (โชว์เปิดหมวก)

Street Show (โชว์เปิดหมวก) : ทุกที่ๆเป็น public space ของนิวยอร์ค อาจกลายเป็นเวทีแสดงความสามารถของเหล่าศิลปินได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ ลานหน้าตึก หรือแม้แต่ในขบวนรถไฟ ศิลปินเปิดหมวกเหล่านี้มีอยู่ทุกซอกทุกมุมของเมือง ประกอบกับที่เหล่าผู้ชมก็เป็นคนที่ให้คุณค่ากับศิลปะ หรือเป็นนักท่องเที่ยวที่ตื่นเต้นกับทุกอย่างอยู่แล้ว Street show ก็เลยเติบโตในเมืองนี้ได้สบายๆ เรียกได้ว่านิวยอร์คเป็นพื้นที่แห่งการแสดงออกอย่างแท้จริง

Chaos (ความวุ่นวาย)

Chaos (ความวุ่นวาย) : 8.5ล้าน คือจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ ยังไม่รวมประชากรแฝงและนักท่องเที่ยวอีกมากมาย นิวยอร์คเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดในสหรัฐ ถ้าลองไปเที่ยวในที่ๆมีคนเยอะๆ ย่านใจกลางเมือง เช่น Grand central terminal หรือ Times square เราก็จะเห็นความวุ่นวายที่เกิดจากมวลมนุษย์ได้ไม่ยาก ความวุ่นวายนี้เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของเมืองใหญ่ๆอยู่แล้ว และเมืองสำคัญของโลกอย่าง New York city ก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลย

.

เราชอบภาพนี้มากๆ เพราะทำให้นึกถึงฉากเปิดตัวของ Serena van de Woodsen นางเอกสาวสวยในซีรีย์สุดฮิตสมัยเรายังเด็กเรื่อง Gossip Girl 😆

Inequality (ความเหลื่อมล้ำ)

Inequality (ความเหลื่อมล้ำ) : ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกดำเนินไปด้วยระบบทุนนิยม (Capitalism) แน่นอนว่าทุนนิยมนำมาซึ่งความมั่งคั่ง ความศิวิไลซ์ และเป็นระบบที่ถูกยอมรับมากที่สุดในโลก แต่บ่อยครั้งที่ทุนนิยมก็ทำให้ “ความเหลื่อมล้ำ” ปรากฏชัด สำหรับเมืองที่มีดีกรีความทุนนิยมแบบสุดๆอย่างนิวยอร์ค เราก็สามารถเห็นความเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจน เมืองนิวยอร์คที่เราเห็นคนใส่สูทผูกไทค์กันจนชิน กลับมี homeless และขอทานเยอะอย่างไม่น่าเชื่อด้วยเช่นกัน ผู้ที่ถูกทุนนิยมทิ้งไว้ข้างหลังเหล่านี้มีจริงและมีเยอะด้วย แต่เป็น “Another side of story” ของนิวยอร์ค ที่ไม่ค่อยได้ถูกนำเสนอ

Diversity (ความหลากหลาย)

Diversity (ความหลากหลาย) : นิวยอร์คขึ้นชื่อว่าเป็น “The biggest melting pot of the world” เมืองนี้เป็นส่วนผสมของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ สัญชาติ และวัฒนธรรม ที่หลอมรวมกลายเป็นชนเผ่าเดียวที่เรียกว่า Newyorker นับตั้งแต่ที่ชาวดัตช์มาตั้งรกรากที่เกาะ Manhattan ในศตวรรษที่17 ก็มีผู้อพยพมาจากหลายที่ทั่วโลกตั้งแต่ อังกฤษ เยอรมัน ไอร์แลนด์ แอฟริกา อิตาลี และเอเชีย ในปัจจุบันเราก็จะเห็นนิวยอร์คมีโซนย่อยๆที่แบ่งตามเชื้อชาติอยู่เช่น China town หรือ Little Italy เรียกได้ว่าที่นิวยอร์ค แทบไม่มีใครที่เรียกตัวเองได้ว่าชนกลุ่มหลัก หรือถูกแปะป้ายว่าเป็นชนกลุ่มน้อย เพราะทุกคนก็แตกต่างกันอยู่แล้ว

Dreamer (คนมีฝัน)

Dreamer (คนมีฝัน) : ท่ามกลางความหลากหลายของผู้คน ดูเหมือนสิ่งหนึ่งที่ชาว Newyorker จะมีเหมือนกันคือการมี”ความฝัน” ด้วยความที่นิวยอร์คเป็นเมืองแห่งการแสดงออก เมืองที่ยอมรับความแตกต่าง เมืองที่ความเป็นปัจเจกของคนไม่ถูกกัดกร่อนด้วยบรรทัดฐานของสังคม โดยรวมแล้วที่นี่เป็นที่ๆเอื้อให้คนมีฝัน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินเปิดหมวกใน Central park นักลงทุนใน Wall street หรือนักแสดง Broadway ก็เป็นตัวแทนของคนมีฝันที่เห็นได้ชัด
พวกเขาพร้อมก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับเมืองที่ไม่เคยหยุดนิ่งแห่งนี้ ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานิวยอร์คเป็นเมืองที่ถูก shape มาด้วยความฝันของคนมากมาย และเมืองนี้ก็จะถูกขับเคลื่อนไปด้วยความฝันต่อไป คนมีฝันเหล่านี้เองที่ทำให้นิวยอร์คเป็นนิวยอร์ค เมืองที่มีเอกลัษณ์ และไม่เหมือนที่ใดในโลกนี้