ประวัติศาสตร์พาสปอร์ต
“เครื่องพันธนาการนักเดินทาง”
ช่วงนี้เรื่องฟรีวีซ่าจีนมาแรงเต็มโซเชียลจริงๆ ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่คนไทยสามารถไปจีนได้แบบไม่ต้องขอวีซ่าแล้ว ซึ่งจีนก็ถือเป็นประเทศที่ “เข้ายาก” พอสมควรเพราะมีพาสปอร์ตแค่ไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้นที่สามารถใช้เข้าจีนได้
เอาล่ะ โมเมนต์ความดีใจผ่านพ้นไป เราอยากชวนมาลองตั้งคำถามกันว่า แล้วทำไมเราต้องขอพาสปอร์ตและวีซ่ากันตั้งแต่แรก? และทำไมโลกนี้ถึงมีบางประเทศเข้ายาก? โพสต์นี่เราอยากมาเล่าที่มาของระบบพาสปอร์ตและวีซ่า และอธิบายว่าทำไมสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางนี้ จริงๆแล้วมันน่าจะเป็นเครื่องพันธนาการมากกว่า
ย้อนกลับไปสมัยโบราณ ตั้งแต่ช่วงประมาณ 1500BC เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่และเริ่มสร้างอาณาจักร คอนเซปต์เรื่องเส้นแบ่งอาณาจักรจึงเริ่มเกิดขึ้น เมื่อมีการแปะป้ายว่านี่คือ ”พวกเรา” และนั่นคือ “พวกเขา” ระบบที่คล้ายกับพาสปอร์ตก็เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ โดยพื้นฐานเป็นการทำเพื่อ “permission” อะไรบางอย่าง
เช่นชนเผ่าในแอฟริกา ใช้หน้ากากชนเผ่าแทนสัญลักษณ์ในการให้ผ่านทางหรือทำการค้า, อาณาจักรเปอร์เซีย มีให้ King ออกจดหมายให้บริวารเพื่อเดินทางไปอาณาจักรข้างเคียง, ในอียิปต์ ผู้คนก็ต้องทำเอกสารขออนุญาตก่อนออกจากท่าเรือ จะเห็นว่าแต่ละสังคมนั้นยังไม่มีมาตรฐานของระบบพาสปอร์ต แต่ต่างก็มีแนวคิดเรื่องนี้เพราะเหตุผลทางการเมืองและการค้า
Skip เข้าสู่ยุค Nation state (ช่วง 1500s) มีการขีดเส้นแบ่งประเทศกันชัดขึ้น และระบบพาสปอร์ตก็มีการ evolve ไปตามแต่ละสถานการณ์ ซึ่งมีการต่อสู้กันของสองแนวคิดอยู่เสมอ ได้แก่ฝั่ง control ที่เชื่อว่าต้องควบคุมผู้คนให้เข้มขึ้นเพราะความไม่ไว้ใจกัน และฝั่ง freedom ที่เชื่อว่าถ้าคนไปไหนมาไหนได้อย่างเสรีการค้าและความร่วมมือจะดีกว่า
และเมื่อเทคโนโลยีการเดินทางดีขึ้น โลกก็เชื่อมเข้าหากัน ในช่วงปี 1850-1910 เสรีภาพในการเดินทางเบ่งบานสูงสุด บรรยากาศสงครามและความขัดแย้งแผ่วเบา ผู้คนสามารถย้ายถิ่นฐาน หรือเดินทางรอบโลกได้ง่ายดาย รวมถึงเป็นช่วงที่เศรษฐกิจดี มี middle class เพิ่มขึ้น ความต้องการในการเดินทางเพิ่มมากจนกระทั่งหลายประเทศยกเลิกระบบการใช้พาสปอร์ตไปเลย
แล้วสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เกิดขึ้นในปี 1914..
นี่คือเป็นเหตุการณ์จุดเปลี่ยนที่ทำให้บรรยากาศความไว้วางใจกันของทั้งโลกเปลี่ยนไปเลยสงครามทำให้การควบคุมคนที่อยากจะก้าวข้ามเส้นแบ่งประเทศดูสมเหตุสมผลขึ้นระบบพาสปอร์ตที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลกที่เราเห็นอย่างในปัจจุบันก็ถือกำเนิดขึ้น
เมื่อสงครามจบลงก็มีการประชุมระดับโลกว่าจะเอาไงต่อกับระบบนี้ มีประเทศที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม 42 ประเทศ และผลก็เป็นอย่างที่เราเจอทุกวันนี้แหละ มันกลายเป็น new normal ตั้งแต่วันนั้น แนวคิดเรื่องการ control ชนะ และแทบไม่เคยมี movement ที่เป็นฝั่ง freedom ให้เห็นอีกเลย นอกจากนี้ไม่นานหลังจากที่ระบบพาสปอร์ตเกิด วีซ่าก็เกิดตามมา หลักๆเพื่อควบคุมการอพยพย้ายถิ่น
สิ่งเหล่านี้ทำให้เสรีภาพในการเดินทางถูกริดรอนไป ในเชิงการท่องเที่ยวมันอาจเพิ่มความปวดหัวและเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย แต่สำหรับคนมากมายทั่วโลก ระบบนี้มันกดทับความหวังในชีวิตของเขาอยู่ คนที่เกิดมาในประเทศห่วยๆอาจไม่มีสิทธิ์ที่จะออกไปจากมัน และอาจไม่มีประเทศไหนยอมรับเขาเป็น citizen เลย โดยเฉพาะเหล่าประเทศโลกที่หนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “เจ้าของ” ระบบนี้ ที่คอยกินค่าธรรมเนียมคนทั้งโลกและตัดสินว่าใครมีสิทธิ์เข้าออกประเทศ
“เราอาจโอเคกับระบบแบบนี้ เพราะเราเกิดมามันก็เป็นแบบนี้แล้วตั้งแต่แรก” เราเข้าใจว่ามนุษย์ไม่ได้มีสิทธิ์ก้าวข้ามเส้นแบ่งประเทศก่อนได้รับอนุญาต และไม่มีสภาวะความจริงแบบอื่น แต่ถ้าลอง zoom out ออกมา ก็จะเห็นว่าครั้งหนึ่งมันเคยเสรีกว่านี้ และระบบนี้มันก็เป็นของใหม่ที่อยู่มาประมาณ 100 ปีเท่านั้นเอง
ที่จริงถ้าลองวิเคราะห์จากความเป็นมาทั้งหมด ต้องบอกว่าระบบพาสปอร์ตเกือบจะ evolve ไปอีกขั้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เหตุการโรคระบาดทั้งโลกนี้เป็นเหตุผลที่ make sense มากที่ต้องเพิ่มการควบคุม โควิดเกือบจะทำให้ vaccine passport หรือ health passport เป็นร่างต่อไปของระบบพาสปอร์ต แต่โชคดีที่เหมือนจะคลี่คลายไปในทางที่ผ่อนคลายลง
และทั้งหมดนี้คือประวัติศาสตร์ของพาสปอร์ต สมุดเล่มเล็กๆที่ทำให้เส้นสมมุติของการแบ่งพรหมแดนกลายเป็นกำแพงที่ต้องปีนข้าม อาจเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ แต่เราเชื่อว่าทั้งหมดนี้มันก็คือวิวัฒนาการตามธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ที่เป็นไปตามสถานการณ์แหละ คงไม่มีใครจงใจควบคุมหรอกมั้ง?
ในฐานะคนหนึ่งที่เกิดมาในประเทศที่พออยู่ได้ และชอบออกไปเที่ยว ก็ต้องขอ bias ว่าเราอยากเห็นระบบที่เสรีมากขึ้นกว่านี้ และเชื่อว่าสิทธิ์ในการข้ามพรหมแดนควรเป็นสิทธิ์พื้นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่แรกล่ะนะ :)